วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

หนูอยากเรียนคณะนี้มากกกก!!!!!!!!

นักกำหนดอาหาร VS นักโภชนาการ VS Food Sci Food Tech มันต่างกันยังไงเนี่ย กรี๊ดดดดด!!! วี๊ดดดด!!! ว๊ายย!!! แอร๊ยยยย!!! งง!!!


"นักกำหนดอาหาร"...หลายๆคนได้ยินคำๆนี้แล้วก็คงเกิดความงุนงงสงสัยว่า มันคืออะไรยังไง? อาชีพใหม่หรอ? พอเริ่มหาข้อมูลกันไปซักพักแล้วก็จะเริ่มสงสัยว่า เอ๊ะ! แล้วมันต่างกับ นักโภชนาการ หรือพวก Food Sci Food Tech ยังไงเนี่ย!! พอหาไปเรื่อยๆก็คงจะเริ่มมีอาการ "กรีดร้อง" กรี๊ดดดดด!!! วี๊ดดดด!!! ว๊ายย!!! แอร๊ยยยย!!! งง!!!...ใจเย็นๆกันก่อนนะน้องๆ เดี๋ยวเอาเป็นว่า  เรามาไขข้อค่อยใจกันทีละข้อดีกว่านะ^^


นักกำหนดอาหารคืออะไร??
จริงๆแล้ว"นักกำหนดอาหาร"ก็ไม่ใช่อาชีพใหม่อะไร เพราะแนวคิดด้านการใช้อาหารในการบำบัดรักษาโรคนั้นมีมานานมากๆแล้ว ดังจะเห็นได้จากการที่ Hippocrates - บิดาแห่งการแพทย์ เคยกล่าวไว้ว่า "Let your food be your medicine and your medicine be your food" และในฝั่ง Asia เองก็มีแนวคิดด้านการใช้อาหารในการบำบัดโรคนี้มาตั้งแต่สมัยจีนโบราณแล้วเช่นเดียวกัน ดังจะเห็นด้านจากอาหารจีนหลายๆเมนู และถ้าน้องๆเคยดู "แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง" พี่ก็อยากจะบอกว่า นั่นหละคือ "นักกำหนดอาหาร"
ถ้าจะพูดถึงรายละเอียดเพิ่งอีกซักนิดนึง นักกำหนดอาหาร ก็คือ บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้เฉพาะทางด้านอาหาร โดยเฉพาะด้านการใช้อาหารในการบำบัดโรคที่เรียกว่า โภชนบำบัด
ในโรงพยาบาลต่างๆจะมีนักกำหนดอาหารประจำอยู่เสมอ เพื่อช่วยให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นักกำหนดอาหารจะเป็นผู้กำหนดปริมาณพลังงานและสารอาหารต่างๆ ที่เหมาะสมกับโรคและภาวะที่เป็นอยู่ของผู้ป่วยแต่ละคน ตลอดจนกำหนดอาหารที่เหมาะสมกับบุคคลทั่วไปเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี ร่างกายแข็งแรง นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ให้ความรู้ และคำปรึกษาแก่ผู้ป่วย บุคคลทั่วไป และบุคลากรทางการแพทย์ในการป้องกัน และบำบัดโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากภาวะทุพโภชนาการและโรคเรื้อรังต่างๆเช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคเอดส์ หรือโรคไต เป็นต้น

นักกำหนดอาหาร แตกต่างกับ นักโภชนาการ ยังไง??
                นักกำหนดอาหารเป็น วิชาชีพเฉพาะ ส่วนนักโภชนาการเป็น อาชีพทั่วไป ใครจบมาทางด้านอาหาร ถ้าเรียนโภชนาการมาบ้าง ก็เป็นนักโภชนาการได้  พูดกันง่ายๆก็คือ นักกำหนดอาหารเป็น"ขั้นกว่า"ของนักโภชนาการ เพราะผู้ที่จะเป็น"นักกำหนดอาหาร" ถ้าไม่ได้จบ "โภชนาการและการกำหนดอาหาร" มาโดยตรง ก็จะต้องไปเป็น นักโภชนาการก่อน 1ปี-6ปี แล้วแต่ว่าจะจบวุฒิอะไรมา จึงจะสามารถสอบขึ้นทะเบียนวิชาชีพนักกำหนดอาหาร (CDT) ได้ และเมื่อกฎหมายวิชาชีพนักกำหนดอาหารเสร็จสมบูรณ์เมื่อไหร่ นักโภชนาการที่ไม่ได้สอบขึ้นทะเบียนวิชาชีพนักกำหนดอาหาร ก็จะไม่สามารถขึ้น Ward ดูคนไข้ได้และไม่สามารถเขียนใบสั่งอาหารเพื่อกำหนดอาหารให้ผู้ป่วยรับประทานในแต่ละมื้อได้

นักกำหนดอาหาร แตกต่างจาก Food Sci หรือ Food Tech ยังไง??
                อันนี้ต่างมากๆ เพราะ Food Sci หรือ Food Tech เรียนเกี่ยวกับสมบัติทางเคมี ทางกายภาพ ทางชีวภาพ (เช่นจุลินทรีย์) ของอาหาร เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร การผลิต-แปรรูปอาหารในเชิงอุตสาหกรรม

เรียนจบไปแล้วสามารถทำงานอะไรได้บ้าง
                สายงานด้านนี้กว้างมากๆขอบอก เรามาดูตัวอย่าง"ส่วนหนึ่ง" ของงานที่พี่ๆที่จบไปแล้ว ว่าเค้ากำลังทำงานอะไร เป็นอะไร อยู่ที่ไหนกันบ้าง ดีกว่า^^
-          เป็นนักกำหนดอาหารสายคลินิก (Clinical Dietitian) มีหน้าที่ ประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วยแต่ละคนตั้งแต่เริ่มเข้ามารักการรักษาจนกระทั่งหายดี ขึ้นWardดูคนไข้เพื่อติดตามผลการรักษา และกำหนดอาหารให้ผู้ป่วยทานในทุกๆมื้อ
-          เป็นนักกำหนดอาหารสายโภชนบริการ (Food Service Dietitian) มีหน้าที่รับใบสั่งอาหารจาก Clinical Dietitian หรือแพทย์ แยกประเภทใบสั่งอาหาร ออกเป็น ผู้ป่วยทั่วไป กับ ผู้ป่วยที่มีความต้องการทางด้านโภชนาการเป็นพิเศษ สำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการทางด้านโภชนาการเป็นพิเศษ ก็แปลงใบสั่งอาหารให้พ่อครัวแม่เข้าใจได้ง่ายด้วยการกำหนดไปเลยว่า อาหารจานนี้ใส่ไก้กี่ชิ้น ใส่เกลือเท่าไหร่ นำตาลเท่าไหร่ น้ำปลาเท่าไหร่ พริกเท่าไหร่  ในผักอะไรบ้าง กี่ต้นกี่กรัม หรือว่าจำเป็นจะต้องให้อาหารทางการแพทย์เลย
-          เป็นนักกำหนดอาหารสายโภชนาการชุมชน (Community Dietitian) มีหน้าที่ให้การดูแลภาพรวมของภาวะโภชนาการของประชาชนในชุมชน - สังคม – ประเทศ ประเภทว่าออกนโยบาย อะไรอย่างงี้ ส่วนใหญ่จะทำในกองโภชนาการ กรมอนามัย
-          ทำงานประเภท Nursing home หรือก็คือ ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังประจำบ้าน
-          เป็นนักกำหนดอาหารสายโภชนาการเพื่อการกีฬา (Sport Nutrition) มีหน้าที่ดูแลภาวะโภชนาการให้กับนักกีฬา ในสโมสรกีฬาประเภทต่างๆ
-          เป็นนักกำหนดอาหารในสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ มีหน้าที่ดูแลผู้ที่อยู่ระหว่างการพักฟื้นร่างกายจากการบาดเจ็บหรือการผ่าตัด
-          ควบคุมการให้บริการอาหารในสายการบิน สายงานนี้จะเน้นหนักไปในเรื่องของ Food Service, Food Safety และ กฎหมายอาหาร มากเป็นพิเศษ
-          ทำงานในองค์การอาหารและยา(อย.) สายงานนี้จะเน้นหนักไปในเรื่องของ Food Safetyและ กฎหมายอาหาร มากเป็นพิเศษ
-          ทำงานเป็นฝ่ายดำเนินการขอขึ้นทะเบียนกับ อย. ให้กับบริษัทเอกชนที่ผลิตหรือจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร ทั้งประเภทที่ผลิตในประเทศ และเป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ สายงานนี้จะเน้นหนักไปในเรื่องของ Food Safety และ กฎหมายอาหาร มากเป็นพิเศษ
-          รับผิดชอบงานด้านการจัดทำฉลากโภชนาการของผลิตภัณฑ์อาหารทุกชนิด
-          เป็น Medical Representative หรือ ผู้แทนจำหน่ายผลิภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ (หรือก็คือ Detail นั่นหละ) ทั้งแบบที่ให้ผ่านทางสายยาง หรือแบบที่ให้ผ่านทางหลอดเลือด มีหน้าที่เสนอผลิตภัณฑ์ให้กับโรงพยาบาล เพื่อให้โรงพยาบาลนำไปใช้ในการบำบัดดูแลผู้ป่วย
-          เป็นนักวิจัย ในหน่วยงานของรัฐเช่น สถาบันวิจัย หรือมหาวิทยาลัย หรือทำวิจัยกับบริษัทเอกชน เพื่อวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ และอาหารเสริมประเภทต่างๆ
-          เป็นผู้ให้คำปรึกษาทางด้านโภชนาการแก่ลูกค้า ของบริษัทอาหารทางการแพทย์ หรือบริษัทผู้ผลิตหรือจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ ทั้งในส่วนที่เป็นนักกำหนดอาหารประจำศูนย์ให้คำปรึกษาทางด้านโภชนาการของบริษัท หรือ เป็น Call Center  (ในส่วนของ Call Center นั้น คนที่ทำงานนี้ในตอนนี้ ส่วนใหญ่ไม่ใช่นักกำหนดอาหาร ไม่ใช่แม้กระทั่งนักโภชนาการ ซึ่งไม่ได้มีความรู้อะไรเลย ดีแต่โฆษณาผลิตภัณฑ์ของบริษัทจนเกินจริง...ขอบ่นเป็นการส่วนตัว เพราะอยากให้มีนักกำหนดอาหารตัวจริงไปทำกันเยอะๆ เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค)
-          เป็น Columnist เขียนบทความเกี่ยวกับโภชนาการลงนิตยสารต่างๆ (คนที่ทำงานนี้ในตอนนี้ ส่วนใหญ่ไม่ใช่นักกำหนดอาหาร ไม่ใช่แม้กระทั่งนักโภชนาการ ซึ่งเขียนได้มั่วมาก ให้ข้อมูลเท็จที่ copy จาก internet ที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้รองรับเสียเป็นส่วนใหญ่...ขอบ่นเป็นการส่วนตัว เพราะอยากให้มีนักกำหนดอาหารตัวจริงไปทำกันเยอะๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชน)
-          ทำงานในสถาบันลดน้ำหนัก จำพวก Slim Up Center มีหน้าที่กำหนดอาหารให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการ (ใครอยากทำงานแนวนี้ จำเป็นมากที่จะต้องหุ่นดี ผอมเพรียว ถ้าเป็นผู้ชายควรมีกล้ามให้ดูเท่ๆ ยิ่งถ้ามีประวัติว่าเคยอ้วนมาก่อนแต่ปัจจุบันหุ่นดีแล้ว จะยิ่งน่าเชื่อถือ^^)
-          เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย เพื่อผลิตนักกำหนดอาหารที่มีคุณภาพออกมาดูแลสุขภาพประชาชน^^
เป็นต้น....(เยอะจริงๆ เห้อ~ เหนื่อย)

มีเรียนทำอาหาร หรือ จำเป็นว่าจะต้องทำอาหารเป็นไหม??
                จริงๆก็มีเรียนทำอาหารนะ แต่เราไม่ได้มุ่งหมายให้เป็น Chef และจะไม่ได้เรียนหนักเท่าผู้ที่เรียนสาขาคหกรรมศาสตร์แน่นอน แต่เรียนเพียงเพื่อให้รู้วิธีทำกับข้าวเพื่อจะแนะนำผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยได้รู้ว่าอาหารอะไรอร่อยไม่อร่อยจะทำอย่างไร และรู้เพื่อกำกับดูแลแม่ครัวในฝ่ายโภชนาการให้ทำอาหารอย่างที่เรากำหนดได้
อยากเป็นนักกำหนดอาหาร!!! ที่ไหนเปิดสอนบ้าง!!!?
                ปัจจุบันประเทศไทยมี สถาบันที่ผลิตนักกำหนดอาหารโดยตรงอยู่ ที่คือ
สถาบันการศึกษา
รายละเอียด
คณะสหเวชศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หลักสูตรปริญญาตรี
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร
B.Sc. Nutrition and Dietetics
หลักสูตรปริญญาโท
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ (นานาชาติ)
M.Sc. Food and Nutrition (Nutrition and Dietetics)
หลักสูตรปริญญาเอก
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ (นานาชาติ)
Ph.D. Food and Nutrition (Nutrition and Dietetics)
คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
หลักสูตรปริญญาตรี
วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)   สาขาวิชาโภชนวิทยาและการกำหนดอาหาร
B.Sc. (Public Health) Major in Nutrition and Dietetics 
สถาบันโภชนาการ
มหาวิทยาลัยมหิดล
หลักสูตรปริญญาโท
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร(นานาชาติ)
M.Sc. Nutrition and Dietetics
 


ถ้าอยากรู้อะไรเพิ่มเติมก็เค้าไปพูดคุยสอบถามพี่ๆและอาจารย์ที่https://www.facebook.com/NutritionDietetics.CU ได้เลยนะ^^

ถ้าอยากได้ความรูด้านการกินอย่างถูกหลักโภชนาการ หรือ การลดน้ำหนัก แบบเข้าใจง่าย และมีแหล่งข้อมูลอ้าอิงชัดเจนแน่นอน ก็เข้าไปเพจ "เมื่อวานป้าทานอะไร" ได้เลยนะ ข้อมูลทุกอย่าง รับรองความถูกต้องโดย ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร จุฬาฯ แน่นอนจ้า^^